"จีรเวช หงสกุล" Idin Architect
จีรเวช หงสกุล ผมจะเป็นสถาปนิกไปจนตาย IDIN Architect
‘ไอดิน’ คือ กลิ่นไอที่ระเหยขึ้นมาจากดินหลังฝนตก อันเป็นปรากฎการณ์ที่พบได้บ่อยในเขตร้อนชื้น จีรเวช หงสกุล ก่อตั้งสำนักงานสถาปนิกไอดินขึ้นในปี ค.ศ. 2004 โดยต้องการสื่อถึงปรัชญาในการออกแบบที่สนองรับกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของไทยที่มีกลิ่นของไอดินอบอวลอยู่
นัยสำคัญอีกประการที่แฝงไว้ในความหมายของชื่อสำนักงาน คือ การผสมผสานงานออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติ (INTEGRATING DESIGN INTO NATURE) ซึ่งหมายรวมถึงธรรมชาติรอบๆ ตัวเราและธรรมชาติที่เป็นเนื้อแท้หรือลักษณะเฉพาะของสรรพสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้คน ชุมชน บริบทของที่ตั้ง หรือลักษณะการใช้สอย งานออกแบบของไอดินเกิดจากการคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ การคัดสรรและจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ที่มักจะแตกต่างกันไป LS Community Mall
คุณเป้-จีรเวช หงสกุล สถาปนิกศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เป็นทั้งเจ้าของนักออกแบบ และพี่ใหญ่ของน้องๆ ในไอดิน บริษัทออกแบบเล็กๆ ที่อุดมไปด้วยสาระและแนวคิดในการออกแบบ จนทำให้สถาปัตยกรรมแต่ละแห่งที่ผ่านการออกแบบโดยไอดินล้วนมีเรื่องเล่า ที่ฟังแล้วอยากบอกต่อ
คุณเป้เป็นหนึ่งในสถาปนิกหลายคนที่นึกฝันมาตั้งแต่เด็กว่าอาชีพที่ใช้สำหรับตัวเองคือการเป็นนักออกแบบ Falling Water บ้านน้ำตกของ Frank Lloyd Wright สถาปนิกชื่อก้องโลก เป็นตัวจุดประกายความคิดในการเป็นสถาปนิกให้กับเขา Falling Water House
“ประมาณ ม.2 ผมไปเจอบ้าน Falling Water ของแฟรงค์ รอยไรด์ ในหนังสือต่วยตูน เป็นบ้านที่แปลกมากในสมัยโน้น บ้านที่ยื่นไปในน้ำตก ผมก็โอ้ว! แม่เจ้าสร้างได้ไง ก็เลยไปถามอาจารย์แนะแนวว่าถ้าผมอยากจะสร้างบ้านแบบนี้ผมต้องทำอาชีพอะไร เพราะเห็นแล้วชอบมาก อาจารย์ก็บอกว่าต้องเป็นสถาปนิก ตั้งแต่นั้นมาผมก็ตั้งเป้าตัวเองชัดเจนว่าต้องเป็นสถาปนิก จำได้ว่าตอนเรียนเขาบอกสถาปนิกไม่ต้องใช้เคมี ผมก็ไปหาครูอุ๊ เคมี ว่าผมขอไม่เรียนเคมีได้มั๊ย เพื่อที่จะเอาเวลาไปนั่งในห้องสมุด วาดรูป อะไรที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนสถาปัตย์ ผมไม่เรียนเลย รู้สึกตัวเองมุ่งมั่นมากๆ ที่จะเรียนสถาปัตย์ให้ได้ Zensala
ผมได้เรียนก็จะรู้สึกได้เลยว่า ถูกต้องที่สุดแล้วสำหรับผม รู้สึกมีความสุขกับการเรียน เสน่ห์ของวิชานี้มันสนุกตรงที่ได้แก้ปัญหา ได้ตีโจทย์ มันเหมือนกับว่าทุกเทอมก็จะมีโจทย์ มันเหมือนกับว่าทุกเทอมก็จะมีโจทย์มาว่าต้องทำอะไรบ้าง ชอบเห็นเวลาที่งานมันออกมาเป็นรูปเป็นร่าง พอได้ทำงานแล้วยิ่งชอบหนักกว่าตอนเรียนอีก ผมรู้สึกตัวเองเหมือนเด็กๆ มากเลย ตอนเด็กผมชอบเล่นเลโก้ ได้สร้างขึ้นเป็นรูปเป็นร่าง จับต้องได้ ตอนที่เราเรียนมันเห็นได้แค่เปอร์สเปคทีฟ เห็นได้แค่โมเดลก็รู้สึกสะใจแล้ว พอได้สร้างขึ้นจริง ได้เข้าไปตรวจงานยิ่งรู้สึกชอบ สมัยเด็กๆผมไม่ค่อยมีของเล่น ถ้าอยากจะเล่นหุ่นยนต์ผมก็จะเอากระดาษมาต่อเป็นตัวหุ่น” PhuKet Gateway
งานในยุคโมเดิร์นตั้งแต่ต้นสมัยศตวรรษที่ 20 โดยผลงานของสถาปนิกดังๆ เช่น Frank Lloyd Wright, Mies van der Rohe และ Le Corbusier เป็นงานที่เขารู้สึกชื่นชอบและสร้างความรู้สึกประทับใจให้กับเขามาโดยตลอด ทั้งวิธีคิด วิธีวางรากฐาน ความตรงไปตรงมาที่ทำให้งานมีสัจจะ นับเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดความรู้สึกตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้ ต้องบอกว่าคุณเป้มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างมากในการที่จะเป็นสถาปนิก แม้ว่าจะต้องเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจหลังจากเรียนจบ จนทำให้เขาได้ใช้วิชาช้าเกินกว่าเหตุ แต่สุดท้ายการเฝ้ารอของเขาก็สัมฤทธิ์ผลได้ทำงานออกแบบสมใจ จนมีผลงานสร้างชื่อชนะการประกวดแบบประตูเมืองภูเก็ต Phuket Gateway จนได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมที่สมควรเผยแพร่ 2010 จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ และกวาดรางวัลการประกวดแบบมาอีกหลายเวที จนมาถึงผลงานสร้างชื่อชิ้นล่าสุดกับการออกแบบ หอคอยสงขลา Phuket Gateway
“สิ่งหนึ่งที่สถาปนิกทุกคนคิดเหมือนกันคือ อยากสร้างงานที่ดี วันหนึ่งเราตายไปก็อยากจะฝารกงานดีๆ เอาไว้ ทำงานที่ดีมีคุณภาพ ไม่ชุ่ย เพราะงานที่เราสร้างก็คือสิ่งที่ตราหน้าเรา”
“คอนเซ็ปต์ ไอเดีย ของหอคอยสงขลาเหรอครับ เล่ายาวนะ” คุณเป้บอกอย่างอารมณ์ดี ที่ทำให้คนฟังอย่างเราอดไม่ได้ที่จะแอบอมยิ้มและตั้งใจฟังด้วยใจจดจ่อ “จุดประสงค์ของโครงการนี้คือให้เป็นแลนมาร์คให้กับแหลมสมิหลา และเป็นจุดปล่อยกระเช้าไปยังเขาหัวแดง ผมก็บอกกับน้องๆ ในทีมว่าเรามาส่งแบบประกวดกันเถอะ เพื่อได้เงินรางวัลแล้วจะได้เอาไปเที่ยว ดูงานกัน ก็ได้มาจริงๆ ห้าแสนบาท ผมก็จะเอาเงินทั้งหมดพาน้องในทีมไปเที่ยว ดูงานสถาปัตยกรรมกัน ตอนนี้กำลังคิดกันอยู่ว่าจะไปไหนดี
เวลาทำงานประกวดผมจะเริ่มจากการเก็บข้อมูลก่อน ได้ข้อมูลเยอะเสียจนทะลักข้อมูล จนไม่รู้จะเอาข้อมูลตรงไหนมาทำ เราเจอแบบนี้หลายงานา อย่างงานนี้ผมเริ่มตั้งแต่กลับไปที่ประวัติของเมืองสงขลาว่าสร้างเมืองมาอย่างไร ต้องย้อนกลับไปในยุคสิงขระนครแล้วก็มาพิจารณาว่าข้อมูลตรงไหนที่มันสะกิดติ่งเรา ซึ่งผมคิดว่าเวลาทำงานประกวดทุกคนต้องหาข้อมูลเหมือนกันเพียงแต่ว่าใครจะหยิบอะไรขึ้นมาพูด สำหรับผม ผมว่าอันนี้โดน! ข้อมูลตัวไหนที่สะกิดโดนต่อมไอเดียของคุณ “หลายๆ คนอาจจะมองมุมที่เข้าไปหาเมืองสงขลา แต่สำหรับผมจะมองข้างในออกมาว่าเขาภูมิใจอะไรในเมืองสงขลา ผมมองว่าสงขลาเป็นเมือง 3 วัฒนธรรม ไทย, จีน, มุสลิม ที่อยู่ด้วยกันได้อย่างลงตัวมาก ผมก็เลยอยากจะทำอาคารที่มี Element เป็น 3 อย่างรวมกันขึ้นไปเป็นทาวเวอร์ เราก็ทดไว้ในใจก่อน ตัวผมเป็นคนที่ชอบกลับไปถึงรากเหง้า วัฒนะรรมของของท้องถิ่นนั้นๆ ผมจะชอบมากกับการได้กลับไปที่ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไปดูว่าชาวบ้านเขาคิดอะไร มีคำสอนอะไร อย่างงานนี้เราก็เจอแนวคิดเรื่อง “สวยสมรส” ซึ่งผมชอบมากเลย ชาวบ้านในแถบนั้นเขาจะปลูกต้นยางเป็นแนวยาง แต่ละต้นจะมีระยะห่างกัน สวนสมรสคือการใช้สเปซที่ไม่มีประโยชน์ของคนหนึ่ง ไปให้อีกคนหนึ่งเข้ามาทำประโยชน์ คือการที่เจ้าของสวนยางให้เพื่อนบ้านเข้ามาปลูกสับปะรดโดยไม่คิดค่าเช่าเพราะเป็นพื้นที่ที่ต้นยางไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่แล้ว ผมว่าเป็นความเอื้ออาทรที่น่ารักมาก ผมก็เลยนำความคิดนี้มาออกแบบเป็นหอคอยสงขลา”
หมายความว่ามีสวนสมรสเกิดขึ้นในหอคอยสงขลา “ถูกต้องครับ ปกติเวลาออกแบบอาคารสูงที่เป็นจุดชมวิว ส่วนใหญ่ก็จะออกแบบให้คนได้ขึ้นไปเพื่อไปชมวิว แกนตรงกลางก็ไม่มีอะไร ทำเป็นลิฟต์เหมือนเวลาขึ้นหอไอเฟล ก็ขึ้นลิฟต์ ปรืด! เพื่อไปชมวิวแล้วก็ลงมา ผมก็มานึกว่าทำไมเราไม่ทำพื้นที่ตรงกลางแกนนี้ให้เกิดประโยชน์ คือการใช้สเปซที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ของโครงสร้างอาคารมาทำให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นคอนเซ็ปต์ของสวนสมรสที่ผมเล่าไปตอนต้น ก็เลยซอยพื้นที่เป็นชั้นๆ ตรงกลางเพื่อทำเป็นมิวเซียม เพื่อให้ประชาชนเข้ามาใช้พื้นที่นั้นได้”
เรื่องที่คุณนำไปเล่าในมิวเซียมคือเรื่องเกี่ยวกับอะไร
“สมัยก่อนสงขลาเป็นเหมือนประเทศประเทศหนึ่ง มีสุลต่าง สุไลมาน ตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองสงขลาไม่ขึ้นกับอยุธยา ก็เล่าประวัติย้อนกลับไป ตั้งแต่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยกทัพมาตีเมือง จนสุดท้ายสงขลาก็กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา จนสมัยกรุงธนบุรีได้ขยับขยายเมืองมาฝั่งแหลมสน และมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีการส่งเครื่องบรรณาการให้หลวง เช่น กระเบื้องเกาะยอ อย่างนี้เป็นต้น และได้รับเงินจากทางเมืองหลวงให้มาขยับขยายเมืองที่ขยายไม่ได้แล้ว ก็เลยข้ามฟากมาที่บ่อยาง คือ ที่เป็นเมืองสงขลาในปัจจุบันนี้ ซึ่งกระเช้านี้จะต้องขึ้นที่บ่อยาง แหลมสมิหลา เพื่อกลับไปฝั่งเขาหัวแดง ซึ่งมีป้อมปืนเก่า, เจดีย์องค์ดำองค์ขาว และสุสานของสุลต่าง สุไลมาน เป็นเมืองเก่าในสมัยก่อนก็เหมือนกับเราได้นั่งไทม์แมชีน กลับไปเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเมืองสงขลา ผมก็เลยออกแบบให้ชั้นล่างเป็นเรื่องราวปัจจุบันของสงขลา เล่าถอยกลับไปหาอดีต โดยค่อยๆ ขึ้นผ่านไปทีละชั้นๆ จนไปถึงชั้นบนสุดก็นั่งกระเช้ากลับไปเจอรากเหง้า ตั้งแต่ยังเป็นสิงขระนคร โดยแฝงแนวคิดเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เรื่องของพลังงานเข้าไปในงานด้วย”
Quote of the Day Reference 1. IDIN 2. Daybed 3.Megazy